วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านครือข่ายคอมพิวเตอร์ ......

         
         ระบบเครือข่าย (Network System) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
เข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องเรียน ภายในองค์กร ระหว่าง อาคาร ระหว่างเมืองต่าง ๆ

ตลอดไปจนถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งโลกที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (Internet)
         

          การติดต่อสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์
กับคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยอาศัยระบบการสื่อสาร   ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการ
ติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน
เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network System)
          ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นวิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล
ที่กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงาน
ซึ่งเป็นระบบที่มี บุคคลากรในการทำงานน้อยที่สุดโดยอาศัย
เครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสาร ระหว่างเครื่องมือเข้า
ด้วยกัน
          สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
  1. Networking System  คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
  2. Electronic Data Interchange   คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข่ายงาน
  3. Internet Working   คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
  4. Paperless System  คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการให้บริการข้อมูล
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

 1.  จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว 
 2.  ความถูกต้องของข้อมูล 3.  ความเร็วของการทำงาน 4.  ประหยัดต้นทุน


อ้างอิง

- หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- http://www.skn.ac.th/a_cd/printout/printpage.html

เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในครือข่ายคอมพิวเตอร์ .........


ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายแบบไร้สายนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1. Frequency Hopping Spread Spectrum (FHSS): FHSS

            เป็นเทคโนโลยีเก่า      สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วค่อนข้างต่ำแค่ประมาณ 1 - 2 Mbps เท่านั้น FHSS จะใช้วิธีในการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนเล็กๆ แล้วส่งข้อมูลไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั้น แต่ถ้าหากมีข้อมูลที่ต้องการจะส่งมากกว่า 1 ข้อมูล ก็จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลในความถี่ที่แตกต่างกัน โดยจะใช้การสลับกันส่งข้อมูล ใช้เวลาในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งประมาณ 0.4 วินาทีในหนึ่งความถี่ ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 79 ช่วงความถี่ที่ต่างกัน


     2.   Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS)


                                


             วิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS   นี้จะใช้วิธีส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีการกระโดดเหมือนกับแบบ FHSS โดยจะแบ่งช่วงความถี่ในการส่งข้อมูลเป็น 11 ช่วงความถี่ แต่ละช่วงความถี่จะใช้ค่าความถี่ประมาณ 22 MHz ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้น คือ ประมาณ 1 – 11 Mbps แต่เนื่องจากวิธีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ DSSS นี้ใช้ช่วงความถี่ในการรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างกว้าง ทำให้จำนวนของข้อมูลที่จะสามารถส่งไปพร้อมกันได้นั้น ลดลงเหลือเพียง 3 ช่วงความถี่เท่านั้น


อ้างอิง

- หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- http://www.kmitl.ac.th/~s9010184/wireless5.htm

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์



โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ .........



                 โพรโทคอล    (protocal)     เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ ในเครือข่าย โพรโทคอลจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแทนข้อมูล วิธีการในการรับ-ส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณการรับ-ส่ง อุปกรณ์หรือสื่อกลางในการส่งข้อมูล การกำหนดหรือการอ้างอิงตำแหน่ง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล รวมถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล และด้วยความสำคัญนี้ องค์กรที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้กำหนดโพรโทคอลที่เรียกว่ามาตรฐานการจัดระบบการเชื่อมต่อสื่อสาร ระหว่างระบบเปิด (Open System Interconnection : OSI) ระบบดังกล่าวแบ่งชั้นการทำงานของเครือข่ายออกเป็น 7 ชั้น ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิดในการสร้างเครือข่ายเพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายออกเป็นงานย่อย ทำให้การออกแบบและใช้งานเครือข่าย รวมทั้งการติดต่อเชื่อมโยงเป็นไปด้วยความสะดวก มีวิธีปฏิบัติในกรอบเดียวกัน

                  การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยฝ่ายผู้ส่งและผู้รับ และจะเริ่มด้วยฝ่ายผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลข่าวสารโดยผ่านชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น เรียงตามลำดับดังนี้





อ้างอิง

- หนังสือเรียน พื้นฐานรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


  ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ......


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
         

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN

           เป็นเครือข่ายระยะใกล้  ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

เครือข่ายระบบ LAN


2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN

   เป็นเครือข่ายขนาดกลาง    ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN

เครือข่ายระบบ MAN

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN

         เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม



เครือข่ายระบบ WAN

อ้างอิง

- หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีและสารสนเทศ

ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

                                    ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

           
          การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ  
          

             วิธีการส่งข้อมูล  จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้  

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ 
          
      องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้            

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น
 

2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมา

3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน

4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย 

5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร 

6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ   
พัฒนาการของการสื่อสาร

หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์คงจะไม่ผิดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารข้อมูลนั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อความคิด เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                
การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย ก้าวหน้าควบคู่กันมาทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร จากการที่ใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร ก็เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย หรือพัสดุภัณฑ์อื่น มีโทรเลข มีโทรศัพท์ มีวิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้งเสียงและได้เห็นทั้งภาพเหล่านี้ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง
 
อ้างอิง
 
- หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ ......



ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ...........






ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการ่งคลื่นทางคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียว โดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...........



โทรศัพท์มือถือ แบล็คเบอร์รี่ blackberry curve tv 8520 ราคา โทรศัพท์มือถือ ราคามือถือ price - review
ยุค 3G ใช้บริการมัลติมิเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตตราความเร็วสูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิต ต่อ วินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้า ( video telephony ) และการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ ( video conference )  ช่วยให้สามารถสื่อสารได้ทั้งหน้าและเสียง .......



ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกะบิต ต่อ วินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ ( three - dimensional : 3D )  ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมิเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ .......

 อ้างอิง

- หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ เละ การสื่อสาร

บรอดแบนด์

                              ....ด์....

บรอดแบนด์   คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่อง

สัญญาณ

    ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเทอร์เน็ต

ความเร็ว

สูง ( Asymmetric Digital Subscripber Line : ADS L  )  ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็ว

สูงสุด

มากกว่า 2.0 เมกะบิต ต่อ วินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่า บรอดแบนด์อาจจะ หมายถึง ระดับ

D-Link DSL-2730u Wireless N 150 ADSL2+ 4-Port Routerความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิต ต่อ วินาที   ดังนั้น จึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิต ต่อ วิอ

นาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง ........

อ้างอิง

- หนังสือเรียนพื้นฐานรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร